ปลาใหญ่กินปลาเล็ก SME จะแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ได้อย่างไร
ในกระแสยุค โลกาภิวัฒน์ เราคงปฏิเสธ ธุรกิจ ข้ามชาติ ขนาดใหญ่ หรือ แบรนด์ดัง เข้ามาตีตลาด ในบ้านเราคงไม่ได้ เราคงจะเห็นปรากฏการณ์ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กระแสการบริโภคกาแฟสด ของคนลาว ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดกระแสร้านกาแฟสด เกิดขึ้น เป็นดอกเห็ด แต่ไม่นานมานี้ กับการปรากฎตัวของ ร้านกาแฟ ที่เป็นแบรนด์ขนาดใหญ่ เริ่มรุกเข้ามาในตลาดลาว พร้อมๆ กับ ปั๊มน้ำมัน และร้านสะดวกซื้อ ที่กำลังขยายสาขา จำนวนมากในนครหลวงเวียงจันทน์ ไม่เพียงแค่ ตัวอย่างของสินค้าแบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่กล่าวมาแล้วนี้เท่านั้น ยังมีแบรนด์ใหญ่ๆ ระดับโลก อีกหลายแบรนด์ หลายสินค้า หลายบริการ ที่กำลังเข้ามาใน ตลาดลาว ที่อาจจะทำให้ผู้ประกอบการ SME เล็กๆ อย่างเรา อดที่จะร้อนๆ หนาวๆ ไม่ได้ วันนี้ ผู้เขียน จะบอกท่านผู้อ่านที่เป็นผู้ประกอบการตัวเล็กๆ ว่า “ถึงเวลาแล้ว ที่เรือเล็กจะออกจากฝั่ง ถึงเวลาที่ปลาเล็กจะกินปลาใหญ่” เราจะทำได้อย่างไร
- ไม่ต้องแหงนหน้ามอง คู่แข่งที่เป็นยักษ์ แต่หันกลับมามองตัวเอง และแข่งขันกับตัวเราเองก่อน ผู้ที่เอาชนะตัวเองได้ จะเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ แม้เราจะตัวเล็ก แต่จำไว้ว่า คนตัวเล็ก จะรวดเร็วกว่าคนตัวใหญ่ อาศัย ความรวดเร็ว ว่องไว ในการวิ่งนำหน้า องค์กรขนาดใหญ่ การเคลื่อนไหวจะช้า เพราะต้องรอำนาจการตัดสินใจ จากฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการ แต่ในฐานะองค์กรขนาดเล็ก ความคล่องตัวจะสูงกว่า การตัดสินใจรวดเร็วกว่า ใช้จุดแข็งนี้ให้ป็นประโยชน์ ในการแข่งขัน
- ใช้เวลานาน เพื่อจะกระโดดได้ไกล และเร่งความเร็วเพื่อความได้เปรียบ การใช้เวลาในการเตรียมตัวเข้าสู่การแข่งขัน แม้จะนาน แต่จะช่วยเราเร่งความเร็วได้ทัน เช่น การเสียเวลาในการเขียนแผนธุรกิจ วางแผนกลยุทธ ศึกษาแผนการตลาด และการวิจัย สิ่งที่สำคัญสำหรับ การแข่งขันของ SME คือ เราต้องรู้ ชัดเจนว่า สินค้าเราคืออะไร เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และลูกค้าของเราคือใคร ไม่ใช่ทุกคนคือลูกค้าเรา ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า แต่ลูกค้าที่พร้อมที่จะจ่ายเงินเท่านั้นคือ พระเจ้า นั่นหมายความว่า เราต้อง โฟกัสเฉพาะกลุ่มเป้าหมายของเราเท่านั้น เพราะเราไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของทุกคนได้ และรักษาลูกค้าของเราไว้ ด้วย ความเป็นสินค้าและบริการของเราในฐานะที่เราเป็นคนในพื้นที่ ที่ทำให้เราได้เปรียบคู่แข่งอยู่แล้ว
- จงกลายเป็นผู้นำ ที่ชาญฉลาด ในการแข่งขันทางธุรกิจ จะมีผู้นำสองกลุ่มคือ ผู้นำทางการตลาดและผู้นำทางความคิด การสร้างตัวเองให้กลายเป็นแบรนด์ คือ สิ่งที่สำคัญ ในการสร้างแบรนด์ให้แก่สินค้า เพราะเมื่อผู้บริโภคมั่นใจในตัวเจ้าของธุรกิจ เขาก็เกิดความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการ ผู้ประกอบการสามารถสร้างตัวเองให้เป็นผู้นำไม่ใช่เพียงแค่สินค้า แต่สามารถสร้างตัวเองให้เป็นผู้นำทางความคิด สร้างตัวเองให้เป็นบุคคลแบบอย่างได้ เช่น การนำตัวเองเข้าสู่สังคม ชุมชน การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และองค์กรต่างๆ การทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคมและชุมชน การเลือกกลุ่มผู้ที่มีอิทธิพลต่อสินค้า และผู้บริโภค ช่วยโฆษณา ประชาสัมพันธ์ จะช่วยให้แบรนด์เราเป็นที่รู้จักและจดจำได้เร็วกว่า การตั้งหน้าตั้งตาขายแต่สินค้าเพียงอย่างเดียว
- สร้าง นวัตรกรรมใหม่ๆ ให้แก่ผลิตภัณฑ์ ของเรา สินค้าแบรนด์ใหญ่ เสียเปรียบเราที่ไม่สามารถนำ วัตถุดิบจากท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มได้ แต่ในฐานะแบรนด์ท้องถิ่น ที่อาศัยความคล่องตัวในการตัดสินใจจะช่วยให้เราคัดเลือกวัตถุดิบ ที่มีราคาถูกกว่า รู้แหล่งกำเนิด รู้ประวัติความเป็นมา และในฐานะคนท้องท้องถิ่น เราจะเป็นผู้ที่เล่าเรื่องราวได้ดีกว่าแบรนด์ขนาดใหญ่
- อย่าหยุดพัฒนาตัวเอง การลงทุนที่ดีที่สุด คือ การลงทุนกับตัวเอง การค้นหาองค์ความรู้ใหม่ๆ การศึกษา การพบปะผู้คน การเดินทางดูงานในที่ต่างๆ จะช่วยให้เราไม่หยุดยั้งในการพัฒนาตนเอง เพราะการพัฒนาตนเองจะช่วยให้เราพัฒนาองค์กร ผลิตภัณฑ์ และการตลาดใหม่ๆ
- เมื่อธุรกิจ เติบโต ต้องหาช่องทางในการขยาย ธุรกิจ ไปยังต่างประเทศ เพราะ แบรนด์ใหญ่ เติบโตมาจากการขยายสาขา ไปสู่สากล จนกลายเป็นแบรนด์ระดับโลก ปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยี การใช้สื่อสังคมออนไลน์ หรือ E-Commerce เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการลงทุน ที่ถูกที่สุดเพื่อให้สินค้าของเรา ไปสู่สากลได้ง่ายขึ้น สินค้าและบริการของเราเราจะกลายเป็นแบรนด์สากล แทนที่จะเป็นเพียงแบรนด์ท้องถิ่น
- ข้อสุดท้ายนี้ สำคัญที่สุด คือ ทำธุรกิจ ต้องเริ่มต้น ด้วยความรัก ความหลงไหลในตัวสินค้า และบริการของเราเอง ผู้ประกอบการ SME มีจุดแข็งที่เหนือกว่า แบรนด์ใหญ่ คือ เราเริ่มต้นทุกอย่างด้วยความรัก ความพากเพียรพยายาม ความทุ่มเท เพื่อให้ผู้บริโภคของเราได้รับสิ่งที่ดีที่สุด เราไม่คิดมุ่งหวังเพียงเพื่อกำไร หรือผลลัพธ์ ทางธุรกิจ เพียงอย่างเดียว แต่เราทำธุรกิจ เพื่อตอบสนองและตอบโจทย์ กลุ่มลูกค้าของเรา เราอาจจะเห็นสินค้าหรือ บริการที่เป็น ของคนในชุมชน หรือ ในท้องถิ่นนั้นๆ แต่สามารถไปสู่ตลาดสากลได้ หรือ คนนอกท้องถิ่นเมื่อต้องการสินค้า ประเภทนี้ จะต้องมาที่นี่ที่เดียว เป็นต้น
สรุป เมื่อ ยักษ์ใหญ่ก้าวเข้ามาเพื่อแข่งขันและแย่งชิงการตลาดจากธุรกิจขนาดเล็ก ในฐานะ คนตัวเล็ก เราต้องเตรียมความพร้อมเสมอ ในการที่จะเข้าสู่การแข่งขัน ด้วย กลยุทธ ความคล่องตัว ความรวดเร็วในการบริหาร อาศัยความเป็นคนในพื้นที่ ที่รู้ช่องทาง และการบริโภคของคนในท้องถิ่นมากกว่า สร้างความเป็นผู้นำทางความคิด การสร้างสรรค์ นวัตรกรรมใหม่ๆ การใช้เทคโนโลยี การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม การวางแผนธุรกิจ ตั้งเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ที่ชัดเจน โดย โฟกัสที่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทำทุกอย่างด้วยความรัก ทำให้สินค้า และบริการของเราตอบสนองและตอบโจทย์ ความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด เมื่อ สินค้าและบริการของเราเต็มไปด้วยความรัก ผู้บริโภคก็จะสามรถสัมผัสถึงความรักนั้นได้ และอยากจะใช้สินค้าและบริการของเรา เคล็ดลับง่ายๆ หากเราปฏิบัติได้ แม้ว่าต่อให้ยักษ์ใหญ่จะยืนอยู่ต่อหน้าเรา เราก็จะไม่กลัว และพร้อมที่จะกระโจนเข้าสู่การแข่งขันด้วยความมั่นใจ