ก่อนการตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจใดๆ ก็ตาม ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ การค้า ระบบอบการปกครอง กฏหมายการลงทุน วัฒนธรรม และพฤติกรรมของผู้บริโภค เป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างชาติควรศึกษา ก่อนการเข้าไปลงทุนในประเทศนั้นๆ วันนี้ผู้เขียนจะแนะนำ ประเทศ สาธารณะประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อเป็นการปูพื้นฐานก่อนการไปลงทุน ว่านักลงทุน ควรจะลงทุนอะไรดี จึงจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ประเทศลาว เป็นประเทศที่มี GDP อยู่ในอันดับที่ 133 ของโลก กำหนดเกณฑ์โดย ธนาคารโลก ในปี 2016 ประเทศลาวเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก (WTO) ในปี 2513
โดยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ประเทศลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี นับว่า เป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงมาก ประเทศนึงในโลก โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) : 12.5 พันล้าน ในปี 2016
รัฐบาลลาวตั้งเป้าหมาย เพื่อให้ประเทศลาวหลุดพ้นจากการเป็นประเทศที่ยากจน และเข้าสู่ประเทศที่กำลังพัฒนาภายในปี 2020
ประเทศลาวเข้าร่วมเป็นสมาชิก อาเซียนในปี 1997 และมีโอกาสเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมอาเซียนถึง 2 ครั้งในปี 2004 และปี 2016
การพัฒนาที่รวดเร็ว ทำให้รัฐบาลลาว ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นในการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดลาว 5 ประเทศได้แก่ จีน พม่า ไทย กัมพูชา และเวียดนาม
จีน คือ นักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในประเทศลาว ตั้งแต่ปี 1989 จนถึงปัจจุบัน ที่มีการลงทุนสูงถึง ห้าพันกว่าล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วย ไทย และเวียดนาม เฉพาะโครงการรถไฟลาว-จีน ที่มีการก่อสร้างจาก คุณหมิงถึงเวียงจันทน์ ที่มีระยะทางถึง 427 กิโลเมตร จีนลงทุนสร้างมูลค่ากว่าหกพันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นโปรเจคใหญ่ ในการเชื่อมต่อจีนเข้าสู่อาเซียน
เศรษฐกิจในลาว เติบโตแบบก้าวกระโดด เนื่องจาก เป็นประเทศที่ถือว่าร่ำรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานน้ำ แร่ธาตุ (ทองคำ ทองแดง เหล็ก สังกะสี เป็นต้น) , สินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์จากป่า ที่ถือว่าเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนจำกัด รัฐบาลลาวจึงพยายามส่งเสริม การส่งออกด้านสินค้าเกษตรและการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการส่งออกพลังงานไฟฟ้า และอุตสาหกรรม แร่ธาตุ แต่ทั้งนี้ อุปสรรคใหญ่ที่พบมากที่สุดในการลงทุน คือ ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ และทักษะ และระดับการศึกษาที่ยังอ่อนอยู่
สถิติการลงทุนในประเทศลาว
ข้อมูลจากกระทรวงแผนการและการลงทุนในประเทศลาว ในปี 2015 พบว่า 3 ประเทศแรกที่มีการลงทุนสูงสุดในประเทศลาว ได้แก่ เวียดนาม มาเลย์เซีย และจีน โดยเฉพาะ การลงทุนใน เขื่อนไฟฟ้า เกษตรกรรม และ เหมืองแร่ โดย การลงทุนทั้งหมด มูลค่าสูงถึง 1.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในนี้ การลงทุนในเขื่อนไฟฟ้า พลังงานน้ำ มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 567.76 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนสูงถึง 44.8% รองลงมาเป็นการลงทุนด้านเกษตรกรรม ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 466 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 36.76% ตามด้วยเหมืองแร่ 183.72 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 14.49% ส่วนการลงทุนจำนวนน้อยที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 1.44 ล้านเหรียญสหรัฐ บริการ 11.59 ล้านเหรียญสหรัฐ และโรงแรมและภัตตาคาร 550,000 เหรียญสหรัฐ
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (2016-2020) ลาว ยังหวังที่จะเพิ่มส่วนแบ่งของ GDP จากภาคอุตสาหกรรมเป็น 32% และบริการ 41% และลดภาคการเกษตรและการส่งออกสินค้าจากป่าไม้ถึง 19% แต่เนื่องจากข้อจำกัดของการลงทุน ที่มีคนลาวเพียงแค่ 2% เท่านั้นที่เป็นนักลงทุน ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งเป้าหมายในการพัฒนาธุรกิจ SME ซึ่งถือว่า เป็นส่วนที่คนลาว สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจเองได้ และสามารถขยายธุรกิจ SME ออกไปสู่ตลาดส่งออกมากขึ้น
ผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ และ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศมากขึ้น ทำให้กฏหมายด้านการลงทุน ในสปป.ลาว เอื้ออำนวยต่อนักลงทุน ด้วยการจดทะเบียนการค้า ที่เรียกว่า จดทะเบียนประตูเดียว ที่มีความยืดหยุ่น ใช้ระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้น และให้นักลงทุนสามารถ สัมปทานที่ดินของรํฐบาลในราคาถูกกว่าเช่าที่ดินเอกชน และยังสามารถใช้ชื่อเจ้าของเป็นคนต่างชาติ ได้ 100% ได้ ได้แก่ ธนาคาร โทรคมนาคม ผลิตภัณฑ์ยา และเครื่องมือทางการแพทย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม สถาบันการศึกษา การท่องเที่ยว ค้าปลีก ค้าส่งเป็นต้น โดย ทุนจดทะเบียนของวิสาหกิจลงทุนต่างประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนทั้งหมดตลอดระยะเวลาดำเนินธุรกิจ ทรัพย์สินของวิสาหกิจ ไม่ให้ต่ำกว่าทุนจดทะเบียน ทั้งนี้ อายุของวิสาหกิจลงทุนต่างประเทศเป็นการลงทุนตามลักษณะ ขนาด และเงื่อนไขของวิสาหกิจ กิจการ หรือโครงการ ไม่ให้เกิน 50 ปี และสามารถต่ออายุได้ตามการตกลงของรัฐบาลแต่อายุของวิสาหกิจลงทุนต่างประเทศสูงสุดไม่ให้เกิน 99 ปี
จากข้อมูล และตัวเลขทางสถิติ จะเป็นตัวชี้ให้นักลงทุน สามารถตัดสินใจในการลงทุนในลาวได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยส่วนตัวผู้เขียนเอง มีความเห็นว่า แม้ประเทศลาวจะเป็นประเทสเล็กๆ มีจำนวนประชากรไม่มาก แต่ด้วย ประเทศลาวอยู่ท่ามกลางประเทศที่มีประชากรรวมกันมากกว่า 100 ล้านคน ประเทศลาวจึงถือว่าเป็นประเทศ land link ที่มีศักยภาพ ด้านความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ และยังมีวัฒนธรรมที่สวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และวัฒนธรรม นอกจากนี้ ด้านการเกษตรและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตรปลอดสารพิษ ถือเป็นจุดแข็งอีกอันที่น่าสนใจ ในการลงทุน เนื่องด้วย ทำเลที่ดี และความสะอาดของทรัพยากรน้ำและดิน ถือเป็นจุดแข็งอีกจุดนึงที่น่าสนใจ กับการลงทุนใน สปป.ลาว