โอกาสและความเสี่ยง เมื่อ ลาว ก้าว เข้าสู่ AEC

 

ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน หรือ AEC เริ่มเปิดเมื่อปี 2016 ช่วงก่อนการเปิด AEC หลายประเทศในอาเซียน ให้ความสนใจ และ เริ่มต้น ในการให้ความรู้ และมีความกระตือรือร้น ในการให้ข้อมูลข่าวสาร แก่ประชาชน และเยาวชน ในประเทศของตนเอง ถือว่า เป็นนิมิตรหมาย ที่ดี ที่ 10 ประเทศ ในภูมิภาคอาเซียน ร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ และพัฒนา การค้า การลงทุน การตลาด อย่างจริงจัง โดย ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนถือเป็น ตลาดใหญ่ แห่งหนึ่งในโลก ที่มีประชากรรวมกันถึง 560 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม หลังการเปิดประตูสู่ AEC หลายคนเริ่มเกิดคำถาม ว่า นี่เราก้าวสู่ AEC จริงๆแล้วหรือนี่ แต่ทำไม ไม่รู้สึกอะไรเลย ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไร วิถีชีวิตประจำวัน ก็เหมือนเดิม ทำงานเช่นเดิม ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่นเดิม ไม่เหมือนก่อน เปิดประตู ที่สำนักข่าว สื่อมวลชน นักวิชาการ ต่างเร่งให้ความรู้ และสร้างกระแสตื่นตัว ในการเข้าสู่ประตูอาเซียน จนหลายๆ ครั้ง ลืมไปว่า นี่เราคือ คนอาเซียนไปแล้วหรือ

บทความนี้ ผู้เขียน อยากจะสื่อถึง “การเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลง” เพื่อ โอกาส และ ลดความเสี่ยงให้มากที่สุด เมื่อเวลา ที่การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมาถึง เพื่อให้มั่นใจ ในการก้าวไปสู่อนาคต

ใครจะคิดว่า บริษัท ยักษ์ใหญ่ อย่าง “โกดัก” ที่ก่อตั้งมานานถึง 131 ปีจะถึงกาลอาวสาร พนักงาน 145,300 รายทั่วโลก ต้องถูกปลดออกจากงาน เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ ยุคดิจิตอล เมื่อกล้องถ่ายรูป พัฒนาไปเป็น ระบบ ดิจิตอล อนาคต เราอาจจะตกงานเมื่อ โรงงานใช้เครื่องจักร และคอมพิวเตอร์ทำงานแทนคน หรือ แทนการจ้างพนักงานประจำ บริษัทหันไปใช้  out source จากข้างนอกแทน เพื่อลดต้นทุน

เรามาดูกันว่า เมื่อลาวก้าวเข้าสู่ AEC โอกาส และความเสี่ยง ที่ลาวจะได้รับมีอะไรบ้าง

สิ่งแรก คือ ทุกประเทศอาเซียน ต้องเปิดเสรีในการเคลื่อนย้าย สินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือกันอย่างเสรี สิ่งนี้ทำให้ เกิดการหลั่งไหล ของเงินทุน เทคโนโลยี และ แรงงานคุณภาพ จะมาสู่ประเทศศลาว ถือเป็นโอกาส ที่ระบบเศรษฐกิจ จะมีเงินทุนหมุนเวียน ประเทศมีรายรับเพิ่มขึ้น ระบบโครงร่างพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ถนนหนทาง โรงเรียน โรงพยาบาล อื่นๆ จะพัฒนา พร้อมด้วย เทคโนโลยี ที่ทันสมัย จะมาช่วยอำนวยความสะดวก และเพิ่มความสุขสบายให้แก่ประชาชนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม มันมีความเสี่ยง เมื่อมีการพัฒนาเข้ามา การใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติจะสูงมากขึ้น ทั้ง ป่าไม้ น้ำ อากาส และการใช้สารเคมี ในการทำการเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้การพัฒนาทางเทคโนโลยี จำเป็นต้องอาศัย คนที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณภาพ จากต่างชาติ เข้ามาในลาวเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อแรงงานในลาว ที่เป็นคนในพื้นที่ ที่ขาดฝีมือแรงงาน ขาดทักษะ ขาดความรู้ และความสามารถ จะกลายเป็นคนด้อยโอกาส ในการเข้าสู่แรงงาน กลายเป็นคนว่างงาน และเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม  จนกลายเป็นภาระและปัญหาสังคมตามมา

ต่อมา การพัฒนาและการเติบโต ทางเศรษฐกิจ ย่อมส่งผล ให้มีการหลั่งไหลของประชากรจากต่างชาติ เช่น ชาวจีน เวียดนาม ไทย เข้าสู่ ประเทศลาวมากขึ้น แม้จะเป็นโอกาส ที่ตลาดในลาวกว้างมากขึ้น ฐานประชากรเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นความเสี่ยง ที่ประชากรคนลาว มีจำนวนน้อย จนไม่สามารถต่อรอง อำนาจการค้าขายกับ นายทุน ที่มาจากต่างชาติได้ และจากการที่หลายชนชาติมาอยู่ร่วมกัน ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ประเพณี วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต แบบดั้งเดิม ของคนลาว ที่รักความสงบ และ เคยชินกับวิถีเกษตรแบบธรรมชาติ

โอกาสต่อมาจาก การเปิดประตูส่อาเซียน คือ ข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันจะลดลง ส่งผลดีต่อ การท่องเที่ยวในลาว โอกาสทางธุรกิจ ด้านการท่องเที่ยวจะเติบโตมากขึ้น นำรายได้เข้าสู่ประเทศมากขึ้น คนลาวมีโอกาสมากขึ้นในการทำงานกับบริษัทข้ามชาติ และมีโอกาสไปทำงานต่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่ต้องเป็นคนลาวที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ ซึ่ง เป็นสิ่งสำคัญที่ภาครัฐต้องเร่งสร้างคุณภาพทางการศึกษา การพัฒนาคน เพื่อให้มีความพร้อมและรองรับกับการพัฒนาและการเข้าสู่อาเซียน

สำหรับผู้ส่งออก ถือว่า เป็นโอกาสอย่างมาก เพราะ เมื่อลาวก้าวเข้าสู่ AEC จะทำให้ อาเซียนกลายเป็นฐานการผลิต และฐานการตลาดร่วมกัน ที่มีจำนวนประชากรจำนวนมาก ส่งผลต่อการส่งออกของลาว ที่จะได้มีทางออกทางทะเล ผ่านประเทศไทย หรือเวียดนามได้ โดย ไม่มีการกีดกันทางการค้า และการส่งออกในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน จะง่ายขึ้น

สิ่งที่เราต้องปรับตัว  ได้แก่ การเตรียมความพร้อมในวิชาชีพ ความรู้ความสามารถ ทักษะการใช้เทคโนโลยี การสื่อสารภาษาอังกฤษ เพราะภาษาอังกฤษ เป็นภาษากลางในกลุ่มอาเซียน หรือ ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน อย่างน้อย 1 ภาษา เช่น ภาษาจีน หรือภาษาเวียดนามเป็นต้น รวมทั้ง เรียนรู้สภาพสังคม และวัฒนธรรมต่างๆ ในประเทศอาเซียน เพื่อเพิ่มโอกาสและความก้าวหน้าในอนาคต

หากเราพร้อมในการเป็นส่วนหนึ่งของ AEC เราสามารถเข้าสู่การแข่งขันในตลาดแรงงานระดับอาเซียนได้ เราจะมีโอกาสที่ดีกว่า และก้าวหน้ากว่าเดิม แต่ในทางตรงกันข้ามสำหรับผู้ที่ไม่ได้เตรียมความพร้อม อาจจะกลายเป็นคนว่างงาน หรือ ด้อยโอกาส เพราะขาดความรู้ ความสามารถและทักษะบางอย่างที่จำเป็น

สำหรับองค์กรทางธุรกิจ จำเป็นต้องรีบปรับตัว ให้เท่าเทียมและเท่าทันเทคโนโลยี อย่ามัวแต่ ภาคภูมิใจในความสำเร็จเก่าๆ ความเคยชินแบบเดิมๆ ในอดีต จนลืมมองคู่แข่ง และขาดการพัฒนาใหม่ๆ “โลกปัจจุบันและอนาคต ไม่มีพื้นที่สำหรับผู้ที่หยุดนิ่ง แต่เปิดกว้างสำหรับผู้ที่พัฒนาไม่หยุดยั้ง” และโลกในอนาคต จะน่ากลัวสำหรับผู้ที่ไม่ได้เตรียมความพร้อม แต่จะสดใส สำหรับผู้ที่ เริ่มต้น ศึกษา พัฒนา ไม่หยุดนิ่ง และสามารถยอมรับปรับสภาพกับการเปลี่ยนแปลงได้ มันเป็นโลก ของ องค์กร ที่สามารถ “คิดใหม่ คิดไกล และคิดก่อน” อย่าเป็นเช่นเดียวกับ ไดโนเสาร์ ที่ต้องสูญพันธ์ เหตุเพราะไม่สามารถปรับตัวกับสภาพการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ของโลกได้

บทความใกล้เคียง:

Leave a comment